จุดเริ่มต้นแรกๆ ที่เชื่อม Starbucks เข้ากับโลกดนตรี ก็คือเขาคนนี้ ‘Kenny G’ นักดนตรีแจ๊สอันดับต้นๆ ของโลก หลายคนยังไม่รู้แน่นอนว่าเขาเคยเป็นนักลงทุนของ Starbucks และมีส่วนในการคิดค้นเครื่องดื่ม Frappuccino (แบบปั่น) มาก่อน ทำให้ครั้งแรกในการวางขายแผ่นซีดีในร้าน เกิดขึ้นตอนปี 1994 ซึ่งก็คือแผ่นอัลบั้มของ Kenny G นั่นแหละฮะ
.
ขอย้อนกลับไปนิดนึงว่า ในสมัยก่อนร้านกาแฟก็คือร้านกาแฟ เป็นพื้นที่ให้คนได้พูดคุยกันและดื่มด่ำกับรสชาติชากาแฟเท่านั้น แต่ทุกอย่างก็เริ่มเปลี่ยนตามเทคโนโลยี เมื่อมีแผ่นเสียง มีเครื่องเล่นเพลงเข้ามา ร้านกาแฟต่างๆ ก็เริ่มนำเพลงมาเปิดในร้านมากขึ้น ซึ่งก็รวมถึงร้านกาแฟเล็กๆ ในเมืองซีแอตเทิล อย่าง Starbucks ด้วย
.
การสรรหาเพลงมาเปิดพร้อมการขายแผ่นซีดีไปด้วย ส่งผลให้ผู้คนเริ่มมานั่งทำงานในร้านกาแฟเพิ่มขึ้น และด้วยความที่มีส่วนสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมการเปิดเพลงในร้านกาแฟให้เฟื่องฟูขึ้นเรื่อยๆ ช่วงปีนั้นเลยเป็นช่วงที่ Starbucks ขยายสาขาได้รัวๆ และทำให้ผู้บริหารตัดสินใจซื้อค่ายเพลง Hear Music เพื่อที่จะจริงจังกับเรื่องธุรกิจเพลงมากกว่าเดิม โดยก่อตั้งร่วมกับ Concord Music Group ในปี 2007 และมีศิลปินที่มีชื่อเสียงมากมายอยู่ภายในค่าย เช่น Paul McCartney, James Taylor และ Joni Mitchell
.
“อ้าว แล้วธุรกิจพวกนี้หายไปตั้งแต่ตอนไหนล่ะ?”
.
ก็คงจะเป็นยุคที่อุตสาหกรรมบันทึกเสียงมันไปต่อไม่ได้นั่นแหละครับ ยอดขายซีดีก็เลยตกฮวบ แถมยังมีหลายๆ คนบอกว่า Starbucks ไม่ได้เข้าใจเรื่องของการทำเพลงอย่างแท้จริง ไม่เหมือนกับค่ายเพลงอื่นๆ ที่มีเอกลักษณ์เพลงเป็นของตัวเอง และเริ่มแซวว่าตกลง Starbucks จะเป็นร้านขายเพลงหรือร้านขายกาแฟกันแน่ ลูกค้าไปร้านกาแฟ เพราะอยากไปดื่มกาแฟมากกว่าซื้อแผ่นซีดีนะ สุดท้ายก็เลยตัดสินใจยุติการขายลงไปในปี 2015 …แอบอยากรู้เลยว่าถ้ายังไม่ปิดตัวลง ปัจจุบันจะทำเพลงแนวไหนออกมากันนะ…